ปัญหาการเรียนแบบไหน ควรพาลูกมาพบจิตแพทย์เด็ก

5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณควรพบจิตแพทย์เด็ก สังเกตได้จากพฤติกรรมการเรียน

จิตแพทย์เด็ก

ญหาการเรียนเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนกังวล ไม่ว่าลูกของคุณจะเรียนไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน ไม่มีสมาธิจดจ่อ หรือมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมในห้องเรียน การปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ลูกของคุณพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นและเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

ด้วยเหตุนี้ ปีติ คลินิก คลินิกสุขภาพจิตที่มีทีมจิตแพทย์ทั่วไป จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จนถึงจิตแพทย์ผู้สูงอายุ พร้อมดูแลสภาพจิตใจของคนทุกช่วงวัย เราจึงอยากมาแบ่งปันความรู้ข้อสำคัญที่พ่อแม่ควรทราบ สามารถนำไปใช้สังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยได้จริง หากพบว่ามีความผิดปกติจะได้พาลูกของคุณไปเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีได้อย่างทันท่วงที

พัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็กและวัยรุ่นที่สัมพันธ์กับการเรียน

ก่อนอื่นพ่อแม่ควรมาเรียนรู้กันก่อนว่าพัฒนาการของเด็กและวัยรุ่นมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย โดยแต่ละช่วงวัยมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • วัยอนุบาล (3-5 ปี)
    เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะพื้นฐาน เช่น การพูด การเข้าสังคม และการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เด็กบางคนอาจมีปัญหาในการเรียนรู้ถ้ามีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าหรือการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ​

  • วัยประถม (6-12 ปี)
    เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถด้านวิชาการ เช่น การอ่าน การเขียน และการคำนวณ ซึ่งทักษะเหล่านี้ต้องใช้การฝึกฝนและการมีสมาธิจดจ่อ หากเด็กมีปัญหาในเรื่องของสมาธิจดจ่อหรือจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้น้อย อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในกระบวนการเรียนรู้​

  • วัยมัธยม (13-18 ปี)
    วัยรุ่นจะมีการเรียนที่ซับซ้อนขึ้น มีความเครียดและความกดดันจากการสอบ บ่อยครั้งที่ปัญหาการเรียนในวัยรุ่นแสดงออกมาเป็นปัญหาด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม และบ่อยครั้งที่ปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการเรียน

สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กมีปัญหาการเรียน

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ปีติ คลินิก ชวนสังเกต 5 สัญญาณที่บ่งชี้ได้ว่าเด็ก ๆ ของคุณกำลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับพวกเขา โดยอาจสัมผัสได้ผ่านทางพฤติกรรม การแสดงออก รวมถึงผลลัพธ์ในการเรียน ดังนี้

  1. ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กที่เคยเรียนได้ดีแต่กลับมีผลการเรียนลดลง หรือทำคะแนนต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากครูแล้วก็ตาม​
  2. ไม่มีสมาธิในชั้นเรียน เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อย เด็กบางคนอาจไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำ ว่อกแว่กง่าย เล่นหรือคุยในห้องเรียนเป็นประจำ
  3. ไม่ทำการบ้านหรือไม่สนใจเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการเรียนที่ควรได้รับการดูแล​
  4. พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น จากที่เคยเป็นเด็กเรียบร้อยกลับกลายเป็นเด็กที่ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า อาจบ่งบอกมีปัญหาทางด้านจิตใจ​ซึ่งสัมพันธ์กับการเรียนได้
  5. ปัญหาทางสังคม เช่น หลีกเลี่ยงการทำงานกลุ่ม มีปัญหาในการสื่อสารและเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของความกดดันหรือปัญหาทางอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน​

สาเหตุของปัญหาการเรียน

ปัญหาการเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น อาจมาจากหลายสาเหตุ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • พยาธิสภาพทางสมอง ได้แก่ โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือปัญหาทางพัฒนาการ เช่น บกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน (Specific learning disorders) มักมีปัญหาในการเรียนรู้แม้ว่าจะมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเพื่อน ๆ ​ในวัยเดียวกัน
  • ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ความเครียดจากครอบครัวหรือสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เช่น การกลั่นแกล้ง หรือปัญหาครอบครัวที่ทำให้เด็กขาดสมาธิและแรงจูงใจในการเรียน​
  • ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความเครียด อาจส่งผลต่อสมาธิและความสามารถในการเรียนรู้​

ความผิดปกติและโรคที่พบได้บ่อยที่สัมพันธ์กับปัญหาการเรียน

ปัญหาการเรียนมักสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิตใจและพัฒนาการที่สามารถรักษาได้หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

  1. โรคสมาธิสั้น (ADHD)
    เด็กจะขาดสมาธิจดจ่อ ไม่สามารถอดทนต่อการเรียนหรือทำการบ้านเป็นเวลานาน และมีพฤติกรรมที่ซุกซนหรือกระตือรือร้นมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

  2. โรคบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน (Specific learning disorders)
    เป็นหนึ่งในปัญหาพัฒนาการทางสมอง ส่งผลต่อการอ่านหนังสือ การสะกดคำและการคำนวณ
    • บกพร่องด้านการอ่าน (Dyslexia) เป็นความผิดปกติในการอ่าน ซึ่งเด็กอาจมีปัญหาในการแยกแยะคำ สะกดคำ หรืออ่านออกเสียง แม้จะมีความสามารถทางปัญญาที่ดี
    • บกพร่องด้านการสะกดคำ (Dysgraphia) เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อทักษะการเขียน อาจประสบปัญหาในการเขียนตัวอักษรให้สวยงาม เขียนเรียงคำให้ตรงกัน หรือเขียนโดยใช้กฎไวยากรณ์ที่ถูกต้อง
    • บกพร่องด้านการคำนวณ (Dyscalculia) เด็กที่มีปัญหานี้อาจพบว่าจะเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้ยาก เช่น การบวก ลบ คูณ หาร หรือการจดจำสูตรคำนวณ

  3. ความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability)
    จะมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติ การรับรู้สิ่งต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้วิชาการอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้

  4. ความวิตกกังวล (Anxiety)
    เด็กที่มีความวิตกกังวลมากเกินไปอาจไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้ดี

  5. ภาวะซึมเศร้า (Depression)
    เด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าอาจขาดแรงจูงใจในการเรียนและไม่สนใจในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงสมาธิความจำแย่ลงกว่าปกติ 

อย่ากลัวที่จะพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ยิ่งรู้ไวยิ่งรักษาได้เร็ว

การสังเกตและใส่ใจถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก ทั้งร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงพฤติกรรมการเรียนที่อาจเปลี่ยนแปลง ก่อนจะตัดสินใจพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นการที่พ่อแม่ได้แสดงความใส่ใจและได้รับผิดชอบต่อการดำเนินชีวิตของลูก ดังนั้นหากพบว่าลูกของคุณมีพฤติกรรมหรือนิสัยบางประการที่เปลี่ยนไป อย่ารีรอที่จะสอบถามอย่างห่วงใย และช่วยหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับพวกเขา

คลินิกสุขภาพจิต ปีติ คลินิก เรามีทีมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมบริการรักษาอาการทางจิตอื่น ๆ จิตเวชทั่วไป โดยทีมจิตแพทย์ จิตแพทย์ผู้สูงอายุ ให้คำปรึกษาใกล้ชิด รับฟังอาการของคุณอย่างใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสมาธิสั้น รักษาโรคซึมเศร้า รักษาแพนิค ไปจนถึงอาการผิดปกติทางสมองและร่างกาย ปีติ คลินิกพร้อมดูแลทุกสภาพจิตใจด้วยประสบการณ์ที่เรามี

 

ต้องการปรึกษาจิตแพทย์เด็ก ติดต่อ ปีติ คลินิก

เบอร์โทรศัพท์ : 090 230 6000
Line : @piticlinic
อีเมล : piticlinic.co@gmail.com
Facebook : Piti Clinic ปีติ คลินิก