เป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องผิด การรักษาโรคซึมเศร้าหายขาดได้
การรักษาโรคซึมเศร้าทุเลาได้หากเปิดใจเริ่มรักษา
การสร้างความเข้าใจและลดการตีตราต่อผู้ที่ประสบกับโรคซึมเศร้าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสังคมที่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น หลายงานวิจัยและบทความทางวิชาการได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางสังคมและการลดอคติที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า หากสังคมไทยมีความเข้าใจที่ถูกต้องจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าสู่การรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างทันท่วงที
เปลี่ยนมุมมองความคิดเพราะการรักษาโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องแย่
การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องผิด สังคมปัจจุบันที่ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้รับการยอมรับมากขึ้น หนึ่งในประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางคือ "โรคซึมเศร้า" ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้อย่างมาก แต่ยังมีความเข้าใจผิดๆ และอคติที่ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหานี้รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิด
ความรู้สึกที่ว่าการเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอหรือความล้มเหลว โรคซึมเศร้าไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึกท้อแท้หรือเศร้า แต่เป็นโรคทางจิตเวชที่มีสาเหตุมากจาก ปัจจัยด้านชีวเคมีในสมอง ปัจจัยทางพันธุกรรม และประสบการณ์ชีวิตที่เผชิญเรื่องราวที่มากระทบจิตใจอย่างมาก ซึ่งต้องได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ
หลายคนเข้าใจผิดว่าโรคซึมเศร้าสามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติหรือการพยายามลุกขึ้นสู้กับปัญหา แท้ที่จริงแล้วการรักษาโรคซึมเศร้าต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรด้านสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาหรือจิตบำบัด
สำรวจตนเอง เราเข้าข่ายต้องรับการรักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่
ลองมาสำรวจตนเองและบุคคลใกล้ชิดว่าภายในสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้เข้าสู่การรักษาโรคซึมเศร้าอย่างทันที ไม่ปล่อยไว้นานจนอาจสายเกินแก้
- เศร้าหรือหดหู่อย่างต่อเนื่อง
- สูญเสียความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆ ทำกิจกรรมที่เคยชอบก็ไม่สนุกเท่าเดิม
- ความอยากรับประทานอาหารมีมากขึ้นหรือลดลงมากกว่าปกติ
- มีปัญหาการนอน เช่น นอนหลักยาก นอนหลับไม่สนิท นอนหลับมากเกินไป
- รู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียอยู่ตลอด
- มีความรู้สึกความผิด คิดว่าตนเองไม่มีค่า
- มีความยากลำบากในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิ ความใจและการตัดสินใจแย่ลง
- การเคลื่อนไหวลงหรือการเคลื่อนไหวที่มากเกินไปจนถึงขั้นกระวนกระวาย
- มีความคิดอยากตายหรืออยากทำร้ายตนเอง
การช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้แสดงความเอาใจใส่และพร้อมที่จะรับฟัง ยอมรับพวกเขาโดยปราศจากการตัดสิน คอยให้กำลังใจอย่างอ่อนโยน ชวนเขาทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ระบายอารมณ์หรือเบี่ยงเบนออกจากอารมณ์ด้านลบ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดี พบปะเพื่อนฝูงหรือคนที่ไว้ใจ ทำงานอดิเรกที่เคยชอบ
สิ่งสำคัญคือ การแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าเข้าสู่กระบวนการรักษาโรคซึมเศร้ากับผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีที่ถูกต้อง คุณสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีอาการซึมเศร้าด้วยการเสนอความช่วยเหลือในการหาที่ปรึกษาและกำหนดนัดหมายกับแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้พวกเขาพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง และเข้าใจว่าการหายจากซึมเศร้าอาจใช้เวลา อีกทั้งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตของตัวเองด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
National Health Service (NHS). How to help someone with depression [Internet]. NHS; Available from: https://www.nhs.uk/mental-health/advice-for-life-situations-and-events/how-to-help-someone-with-depression/
ปีติ คลินิก ติดต่อเราได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 090 230 6000
Line : @piticlinic
อีเมล : piticlinic.co@gmail.com
Facebook : Piti Clinic ปีติ คลินิก