ปรึกษาจิตแพทย์: เช็คอาการอารมณ์แปรปรวน เมื่อไหร่ที่ควรมาปรึกษาจิตแพทย์

รู้จักระดับของภาวะอารมณ์แปรปรวน พร้อมวิธีจัดการอารมณ์ที่ถูกต้อง

เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาจิตแพทย์

 

อาการอารมณ์แปรปรวนเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยและมีผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางครั้งอารมณ์แปรปรวนสามารถเกิดขึ้นกับทุกคน แต่หากคุณพบว่าอารมณ์ของคุณเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือรุนแรงจนกระทบต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการใช้ชีวิตชีวิตประจำวัน เป็นสัญญาณที่ชี้ว่าควรปรึกษาจิตแพทย์ ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการเช็คอาการอารมณ์แปรปรวนว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรมาขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

 

อาการของภาวะ “อารมณ์แปรปรวน”

อารมณ์แปรปรวน (Mood swings) คือการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่รวดเร็วหรือรุนแรงมากขึ้น เช่น จากความรู้สึกดีใจเป็นความเศร้าหรือโกรธในเวลาสั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงอารมณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพจิตที่ควรได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ

การที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ไม่เพียงแค่สร้างความเครียดให้กับตัวคุณเอง แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย การที่คุณรู้จักอารมณ์ของตัวเองและสามารถทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนจะช่วยให้คุณสามารถหาวิธีรับมืออารมณ์แปรปรวนได้ดีขึ้น

 

อาการของอารมณ์แปรปรวนที่ควรระวัง

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้ง
  • การโกรธหรือหงุดหงิดง่ายเกินไป จนรบกวนความสัมพันธ์หรือการทำงาน
  • ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังหรือหดหู่เป็นเวลานาน และอาการนี้รบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ความวิตกกังวลหรือความกลัวที่ผิดปกติ ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน และความรู้สึกนี้รบกวนชีวิตประจำวัน
  • ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีอารมณ์รุนแรงที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น

 

ความสำคัญในการปรึกษาจิตแพทย์ในผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน

การปรึกษาจิตแพทย์ช่วยให้คุณเข้าใจอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้นและช่วยให้คุณฝึกฝนวิธีจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรด้านสุขภาพจิตจะช่วยประเมินสาเหตุของอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความเครียด หรือปัญหาของสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง

การควบคุมอารมณ์ได้ จะช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และยังช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากอารมณ์ที่ไม่คงที่ เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวลที่มากเกินไป

 

เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาจิตแพทย์

การรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์เป็นสิ่งสำคัญเมื่ออารมณ์แปรปรวนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยครั้งหรือรุนแรง ควรพิจารณาการเข้ารับการปรึกษาจากจิตแพทย์

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและไม่สามารถควบคุมได้
  • ควบคุมพฤติกรรมยากขึ้น อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงทำให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น โกรธง่ายเกินไป หรือไม่สามารถควบคุมตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
  • ความรู้สึกเศร้าหรือท้อแท้สิ้นหวังเป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ และไม่สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
  • ปัญหาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป
  • ความวิตกกังวลที่มากเกินไป เกิดขึ้นบ่อยเกินไปและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

 

สาเหตุของอารมณ์แปรปรวน

เกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัจจัยทางชีวภาพไปจนถึงปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาท สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้แก่

  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะประสบกับความรู้สึกเศร้าหรืออารมณ์ดิ่ง ท้อแท้สิ้นหวังและมีอารมณ์ที่ไม่คงที่
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากช่วงที่มีอารมณ์ครื้นเครง มีพลังงานมากกว่าปกติไปสู่ช่วงที่รู้สึกเศร้าและหมดพลังอย่างรวดเร็ว
  • โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) ความวิตกกังวลและความกลัวที่มากเกินไปสามารถทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง
  • โรคสมองติดยา (Substance Use Disorder) การใช้สารเสพติดบางประเภทสามารถทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ ทั้งช่วงที่เมาสารหรือหยุดใช้สารเสพติด
  • ปัญหาทางฮอร์โมน (Hormonal Imbalance) การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทอง อาจส่งผลให้อารมณ์ไม่คงที่

 

วิธีจัดการกับอารมณ์แปรปรวน

  • ฝึกการสังเกตตัวเอง การบันทึกอารมณ์ในแต่ละวันและการระบุเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงจะช่วยให้คุณเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
  • การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและลดความเครียด ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและสามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • การผ่อนคลายจิตใจด้วยการฝึกสมาธิ การหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆหรือการฝึกโยคะเป็นวิธีที่ช่วยให้จิตใจสงบ ลดความเครียด และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • การจัดสรรเวลาให้เหมาะสมระหว่างการทำงานและการพักผ่อนจะช่วยลดความเครียดสะสมและทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น

การรักษาทางจิตเวช

หากอารมณ์แปรปรวนเป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตประจำวัน การปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเป็นสิ่งที่จำเป็น การรักษาทางจิตเวชมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอารมณ์แปรปรวนและความรุนแรงของอาการ เช่น

  • จิตบำบัด (Psychotherapy) การบำบัดกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์สามารถช่วยให้คุณเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น
    การใช้ยา (Medication) ในบางกรณีที่อารมณ์แปรปรวนมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง จิตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปรับสมดุลเคมีในสมองเพื่อลดอาการ
  • การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy - CBT) เป็นการเรียนรู้วิธีคิดและพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์และความเครียดได้ดียิ่งขึ้น

 

อารมณ์ที่แปรปรวนหรือไม่คงที่นี้ อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ จนอาจนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้ ดังนั้นหากสังเกตตนเองและรู้สึกว่าภาวะทางอารมณ์นี้เริ่มกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่ารีรอหรือลังเลที่จะหาทางแก้ไขโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดปกตินี้พัฒนาไปเป็นโรคในอนาคต

ที่คลินิกจิตเวช ปีติ คลินิก เรามีทีมจิตแพทย์และนักจิตบำบัดพร้อมให้บริการ ทุกคนสามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาจิตแพทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ทั้งการรักษาปัญหาสุขภาพจิตโดยตรง เช่น รักษาโรคซึมเศร้า รักษาแพนิค ไปจนถึงการบำบัดความผิดปกติอื่น ๆ เช่น รักษาอาการนอนไม่หลับ รักษาสมาธิสั้น ให้คำปรึกษาเรื่องทั่วไป ปรึกษาปัญหาชีวิต จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จิตแพทย์ทั่วไป จิตแพทย์ผู้สูงอายุ และนักบำบัดของคลินิกสุขภาพจิต ปีติ คลินิก พร้อมดูแลจิตใจของทุกคนให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขดังเดิม

 

ต้องการรรับคำแนะนำหรือปรึกษาจิตแพทย์โดยตรง ติดต่อ ปีติ คลินิก

เบอร์โทรศัพท์ : 090 230 6000
Line : @piticlinic
อีเมล : piticlinic.co@gmail.com
Facebook : Piti Clinic ปีติ คลินิก