ไปเที่ยวทีไร กลับมาเศร้าทุกที : ภาวะ post-vacation blues แก้ไขยังไง
ชวนรับมืออาการเศร้าหลังหยุดยาว อาการนี้จำเป็นต้องรักษาโรคซึมเศร้าไหม?
มีใครเคยเป็นบ้างมั้ย หลังจากไปเที่ยว หรือหยุดยาวทีไร จะรู้สึกเศร้า หดหู่ทุกที อาการนี้เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว post-vacation syndrome หรือ post-vacation blues หรือ post-vacation depression ซึ่งหากใครมีอาการเหล่านี้อย่าปล่อยผ่าน มาดูวิธีรับมืออาการเศร้าที่เกิดขึ้นไปกับ Piti Clinic คลินิกสุขภาพจิตที่เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าไปพร้อม ๆ กันดีกว่า
ภาวะ post-vacation blues คืออะไร จำเป็นต้องรักษาโรคซึมเศร้าไหม หากเกิดอาการนี้
ภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คือ ภาวะทางอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ หรือผิดหวังหลังจากกลับมาจากการพักผ่อนหรือวันหยุดยาว
ภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ไม่ได้ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นในช่วงปรับตัวหลังจากวันหยุดพักผ่อน ซึ่งสามารถพบได้ปกติในทุกคน
สาเหตุเกิดจากเรารู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิต การทำงานตามปกติ เมื่อเทียบกับช่วงวันหยุดยาวหรือเวลาไปเที่ยวอันแสนสุขที่เพิ่งผ่านพ้นมา ยิ่งเป็นวันหยุดยาว เป็นช่วงเวลาดี ๆ มากเท่าไหร่ การปรับตัวกลับมาสู่ชีวิตปกติก็ยิ่งยากเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าเรายังไม่พร้อมกลับมาเผชิญชีวิตจริงนั่นเอง
ไม่ต้องถึงขั้นรักษาโรคซึมเศร้า แต่ควรรู้จักวิธีรับมืออาการเศร้าหลังเที่ยว
แม้ว่าอาการเศร้าหลังเที่ยวจะไม่ใช่อาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับการรักษา แต่ก็ไม่ควรมองข้ามการดูแลสภาพจิตใจ เพื่อให้สุขสภาพจิตของเรากลับมาแข็งแรงและพร้อมใช้ชีวิตต่อไป โดยเรามีวิธีรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวได้ง่าย ๆ ดังนี้
- วางแผนในการกลับมาทำงาน
เนื่องจากอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ส่วนหนึ่งเกิดจากความรู้สึกไม่พร้อมที่จะต้องกลับมารับความเครียดในชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากเราเตรียมความพร้อม จัดระเบียบงาน เตรียมตัว และวางแผนล่วงหน้าถึงสิ่งที่ต้องทำ ความเครียดความวิตกกังวลกับการต้องมาเผชิญกับภาระหน้าที่ก็จะลดลงไปด้วย - ปรับตัวค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ควรหักโหม พยายามปรับตัวเข้ากับชีวิตปกติค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเริ่มต้นด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย - คิดถึงสิ่งดี ๆ
พยายามนึกถึงสิ่งดี ๆ และประสบการณ์ดี ๆ ในช่วงวันหยุด เก็บรูปถ่าย ของที่ระลึก หรือเขียนบันทึก เพื่อช่วยให้รู้สึกดีขึ้น - ตั้งเป้าหมายใหม่
ตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ ในชีวิต เพื่อกระตุ้นความสนใจ และสร้างแรงจูงใจ หรืออาจวางแผนสำหรับการไปเที่ยวครั้งถัดไปก็ได้ เพื่อให้รู้สึกว่ามีสิ่งที่น่าสนใจรอเราอยู่ - พูดคุยกับผู้อื่น
พูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรู้จัก เกี่ยวกับความรู้สึก การพูดคุย ระบายความรู้สึก อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น - ขอความช่วยเหลือ
หากคุณพยายามปรับตัวตามข้างต้นแล้ว ยังอาการซึมเศร้ารุนแรง เช่น อาการเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ หรือรู้สึกว่าไม่สามารถกลับมารู้สึกมีความสุขเหมือนปกติได้ อาการซึมเศร้าดังกล่าวอาจเป็นถึงขั้นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา วิเคราะห์อาการ หาสาเหตุ ที่อาจเป็นมากกว่า post-vacation syndrome หากได้รับการประเมิน และเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าตั้งแต่ต้น อารมณ์เศร้าก็จะหายไปและกลับมีความสุขในชีวิตปกติ และเตรียมพร้อมสำหรับการไปเที่ยวครั้งถัดไปได้อีกครั้ง
จะเห็นได้ว่าภาวะ post-vacation blues เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกคน โดยอาการนี้อาจหายไปเมื่อเรากลับมาปรับตัวเข้ากับชีวิตปัจจุบันได้แล้ว หรืออาจพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้าได้หากเราไม่มีการรับมือหรือดูแลสภาพจิตใจที่ถูกวิธี ดังนั้นการรู้ทันสภาพจิตใจของตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพราะการป้องกันก่อนเกิดโรค ย่อมดีต่อจิตใจของคุณมากกว่าการรักษา
แต่หากสังเกตจิตใจของคุณแล้วพบว่าไม่สามารถรับมือด้วยตนเองได้ อย่าลืมขอความช่วยเหลือ หรือเข้ารักษาโรคซึมเศร้ากับจิตแพทย์ที่มีความรู้และความชำนาญโดยตรง เพื่อให้สภาพจิตใจของคุณกลับมาแข็งแรงโดยเร็วไว ด้วยความปรารถนาดีจาก ปีติ คลินิก
ปีติ คลินิก ให้บริการรักษาโรคซึมเศร้า ติดต่อเราได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 090 230 6000
Line : @piticlinic
อีเมล : piticlinic.co@gmail.com
Facebook : Piti Clinic ปีติ คลินิก